อย่างไรก็ดี ผ่านมากว่า 20 วันแล้ว อิสราเอลยังไม่เปิดปฏิบัติการทางการทหารเหนือกาซา จนนำมาสู่คำถามว่าปฏิบัติการปราบปรามกลุ่มฮามาสจะเกิดขึ้นเมื่อใด ล่าสุด ทางอิสราเอลได้ส่งสัญญาณเรื่องนี้ออกมาแล้วด้วยการทำปฏิบัติการเล็กๆ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา
วันนี้ 26 ต.ค. กองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอล หรือ IDF ได้เปิดเผยภาพปฏิบัติการตีโฉบฉวยภาคพื้นดิน หรือ Raid ด้วยรถถังและปืนใหญ่จำนวนไม่มากในพื้นที่ทางตอนเหนือของฉนวนกาซาเพื่อปราบกลุ่มฮามาส
"ฝรั่งเศส" สั่งห้ามผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ออกมาประท้วง
"กลุ่มฮามาส" หาอาวุธในการถล่มอิสราเอลมาจากไหน?
จากนั้น IDF ได้ออกแถลงการณ์รายงานสิ่งที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเป็นการทำปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรบขั้นต่อไป และตอนนี้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดได้กลับออกมาประจำการบนแผ่นดินอิสราเอลแล้ว
แม้อิสราเอลจะบุกเข้าไปยังฉนวนกาซาทางตอนเหนือ แต่นี่ยังไม่ใช่ปฏิบัติการภาคพื้นดินเต็มรูปแบบอย่างที่หลายฝ่ายเคยประเมินไว้ เพราะการตีโฉบฉวยเป็นการโจมตีสั้นๆ เพื่อเป้าหมายบางประการที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น
หลายฝ่ายมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นยังคงสะท้อนความไม่แน่ใจของอิสราเอลว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับฉนวนกาซาและกลุ่มฮามาส โดยการตีโฉบฉวยครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีประชุมคณะรัฐมนตรีด้านสงคราม หรือ War Cabinet
ก่อนที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู จะออกมาแถลงข่าวพูดถึงแผนการทำสงคราม โดยระบุว่าจากการโจมตีทางอากาศ สามารถสังหารสมาชิกกลุ่มฮามาสได้หลายพันคน แต่นี่เป็นแค่เพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และตอนนี้อิสราเอลกำลังเตรียมบุกภาคพื้นดิน หรือ Ground Offensive
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า นายกฯ เนทันยาฮูไม่พูดถึงกรอบเวลาของการบุกภาคพื้นดิน แต่ระบุเพียงแค่ว่า การบุกภาคพื้นดินจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยมติเอกฉันท์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
หลายฝ่ายตีความว่า เมื่อพิจารณาจากคำพูดของผู้นำอิสราเอล มีความเป็นไปได้ที่ขณะนี้อาจมีความเห็นต่างเกิดขึ้นในหมู่คณะรัฐมนตรีด้านสงคราม ประเด็นสำคัญที่อาจเป็นข้อถกเถียงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้านสงครามเกี่ยวกับการบุกภาคพื้นดินในฉนวนกาซาคือ การบุกควรเริ่มต้นขึ้นในเวลาใด รูปแบบและยุทธวิธีในการบุกควรเป็นแบบใด มีขอบเขตแบบจำกัดหรือเต็มรูปแบบ
หลายฝ่ายมองว่า นอกจากกรอบเวลาและรูปแบบการบุกที่ไม่แน่นอนแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการบุกของอิสราเอลคือ ความปลอดภัยของตัวประกันที่ยังอยู่ในฉนวนกาซา โดยล่าสุดโฆษก IDF ออกมายืนยันตัวเลขตัวประกันเพิ่มเติมว่ามี 224 คน และ กว่า 50 คน หรือ 1 ใน 4 ของตัวประกันทั้งหมดเป็นคนไทย
ตอนนี้ บรรดาครอบครัวของตัวประกันเริ่มกดดันรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการจัดงานวันระลึกถึงผู้ที่ถูกกลุ่มฮามาสลักพาตัวในกรุงเทล อาวีฟ เมืองหลวงของอิสราเอล
นอกจากแรงกดดันภายในประเทศแล้ว แรงจากภายนอกที่มาจากพันธมิตรของอิสราเอล อย่างสหรัฐฯ และฝรั่งเศส ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่อาจทำให้อิสราเอลไม่เปิดปฏิบัติการพิเศษ เพราะสหรัฐฯ ขอให้อิสราเอลชะลอการบุกภาคพื้นดินออกไปก่อน หรือขอให้ลดขนาดการโจมตีลง
เนื่องจากเกรงว่าความขัดแย้งจะบานปลาย และผลประโยชน์ทางการทหารของสหรัฐฯ ที่ถูกโจมตีต่อเนื่อง เช่น ฐานทัพในอิรักและซีเรีย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวฟอกซ์นิวส์ของสหรัฐฯ รายงานว่า ฐานทัพของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลางถูกโจมตีถึง 14 ครั้ง โดยเกิดขึ้นกับฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักและซีเรีย โดยในอิรักโดนโจมตีถึง 11 ครั้ง ส่วนซีเรียโดนโจมตีไป 3 ครั้ง เหตุการณ์โจมตีครั้งนี้ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 24 คน
สหรัฐฯ มีทหารอยู่ในตะวันออกกลางมากน้อยเพียงใดข้อมูลในปี 2020 ชี้ว่าสหรัฐฯ มีฐานทัพอยู่ในตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ตุรกี ซีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน กาตาร์ บาห์เรน และ ซาอุดีอาระเบีย
โดยประเทศที่สหรัฐฯ ประจำการทหารไว้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ คูเวต จำนวน 13,000 นาย รองลงมาคือ กาตาร์ จำนวน 10,000 นาย และอันดับที่สามคือ บาห์เรน จำนวน 7,000 นาย ส่วนอิรักและซีเรียที่ถูกโจมตีมี 5,000 และ 2,500 นายตามลำดับ
นอกจากสหรัฐฯ แล้ว พันธมิตรอิสราเอลอีกรายที่ออกมาแสดงจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยกับการบุกภาคพื้นดิน คือ ฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเยือนตะวันออกกลาง ได้เดินทางไปที่อิสราเอล
ก่อนจะเดินทางต่อไปที่จอร์แดนและอียิปต์ เพื่อเข้าพบกับสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซีซี ประธานาธิบดีอียิปต์ ผู้นำฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่สนามบินก่อนเดินทางกลับว่า การบุกภาคพื้นดินขนาดใหญ่ของอิสราเอลต่อฉนวนกาซา จะกลายเป็นความผิดพลาดมหันต์
ประธานาธิบดีมาครงย้ำว่า อิสราเอลมีสิทธิทุกประการในการป้องกันตนเอง แต่ขอบเขตของการป้องกันตนเองก็ต้องมีข้อจำกัด นั่นก็คือ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ต่อชีวิตพลเรือน ดังนั้น การบุกภาคพื้นดินของอิสราเอลในฉนวนกาซาจะกลายเป็นความผิดพลาด
ผู้นำฝรั่งเศสระบุว่า การแก้ข้อขัดแย้งนี้ต้องใช้วิถีทางทางการเมืองตอนนี้ ประเด็นเรื่องขอบเขตในการป้องกันตนเองของอิสราเอลว่าอยู่ตรงไหน หลังจากที่การป้องกันตนเอง อาจหมายถึงความสูญเสียต่อชีวิตของพลเรือนครั้งใหญ่
เมื่อพิจารณาจากคำพูดของทั้งทางสหรัฐฯ และผู้นำฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าประเด็นที่ทั้งสองชาติพันธมิตรเตือนอิสราเอล คือ การบุกฉนวนกาซาจะนำมาสู่ความขัดแย้งที่อาจขยายวงกว้างขึ้น หรือเป็นความขัดแย้งที่ไม่จบสิ้นโดยอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจทำปฏิบัติการปราบกลุ่มฮามาสของอิสราเอล และอาจส่งผลต่อการสนับสนุนจากพันธมิตรอิสราเอล คือ อนาคตของฉนวนกาซาหลังสงคราม
เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงระดับสูงรายหนึ่งของอิสราเอล เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเดอะการ์เดียนว่า ตอนนี้สำนักงานใหญ่ด้านความมั่นคงของอิสราเอลพยายามตัดสินใจทุกอย่างบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง
ข้อสรุปที่หลายฝ่ายมีร่วมกันในเวลานี้คือ กองทัพอิสราเอลต้องเข้าไปในฉนวนกาซาเพื่อขุดรากถอนโคนกลุ่มฮามาส ไม่ใช่แค่ด้านการทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านเศรษฐกิจด้วย
แต่การทำลายกลุ่มฮามาสในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็นการสังหารผู้นำระดับสูงของกลุ่มหรือการโจมตีฐานที่มั่น ล้วนเป็นเป้าหมายทางการเมือง ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร นี่ทำให้อิสราเอลยังตอบไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรกับพื้นที่ฉนวนกาซาต่อไปในวันที่ยึดฉนวนคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
กาซาทางตอนเหนือได้ และในวันที่ปราบกลุ่มฮามาสจนราบคาบ สองประเด็นนี้จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญที่รออิสราเอลอยู่ ยุทธศาสตร์ระยะกลางของอิสราเอลจะเป็นอย่างไรต่อไป หากสามารถยึดการควบคุมพื้นที่ทางตอนเหนือของฉนวนกาซาได้
แดน ซับบาค บรรณาธิการด้านความมั่นคงของเดอะการ์เดียนระบุว่า ถ้ามองจากเป้าหมายของอิสราเอลในตอนนี้ที่ต้องการปราบกลุ่มฮามาส การบุกโจมตีฉนวนกาซาทางด้านใต้เป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผลที่สุด แต่การบุกฉนวนกาซาด้านใต้เพื่อปราบกลุ่มฮามาสคือ ยุทธศาสตร์ในระยะยาวและสร้างอีกโจทย์สำคัญขึ้นมาแทน
ขณะที่คำถามสำคัญคือ หากอิสราเอลควบคุมพื้นที่ฉนวนกาซาได้ทั้งหมด อิสราเอลจะปราบกลุ่มฮามาสอย่างไร เพราะกลุ่มฮามาสเป็นทั้งผู้ปกครองฉนวนกาซาและอุดมการณ์ที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคม
เอช เอ เฮลเยอร์ นักวิชาการจากสถาบัน Royal United Services Institute ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองด้านกลาโหมและความมั่นคงในลอนดอน ให้ความเห็นว่าหากอิสราเอลต้องการควบคุมฉนวนกาซา ก็ต้องทำลายขีดความสามารถด้านการปกครองทั้งหมดของกลุ่มฮามาส และส่งทหารของตนเองไปปกครอง
แต่ฮาซัน อัลฮาซาน ผู้เชี่ยวชาญตะวันออกกลางประจำสถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ IISS ก็ได้ให้ความเห็นเชิงตั้งคำถามว่า มียุทธวิธีหรือยุทธศาสตร์ทางการทหารหรือไม่ ที่สามารถนำมาใช้ทำสงครามกับกลุ่มฮามาสได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประชาชนชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา
นอกจากนี้ อัลฮาซานยังได้เสนอเพิ่มเติมว่า กลุ่มฮามาสสามารถ “งอกใหม่ได้ในหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน ด้วยการชักชวนชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ในฉนวนกาซากว่า 2,300,000 คน ผ่านการอ้างถึงการใช้ความรุนแรงที่อิสราเอลทำในปฏิบัติการภาคพื้นดิน”
สอดคล้องกับข้อเสนอของเซอร์อเล็กซ์ ยังเกอร์ อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองลับแห่งสหราชอาณาจักรที่ระบุว่า “เราไม่สามารถกำจัดกลุ่มก่อการร้ายโดยที่ไม่ก่อให้เกิดกลุ่มก่อการร้ายใหม่ได้”
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ก่อนจะจบลงด้วยการถอนกำลังออกทั้งหมด และประธานาธิบดีไบเดนก็เคยใช้เหตุผลข้อนี้เตือนผู้นำอิสราเอลในขณะที่เดินทางมาเยือนกรุงเทล อาวีฟด้วยตนเองเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในวันที่อิสราเอลยังไม่บุกภาคพื้นดิน กลุ่มฮามาสก็ได้โจมตีอิสราเอลกลับเช่นกัน
กองพันอัล-คัสซาม องค์กรปีกทหารของกลุ่มฮามาสออกมาอ้างว่า ได้ยิงขีปนาวุธอัยยาส 250 จากฉนวนกาซาเพื่อโจมตีเมืองไอลัต ทางตอนใต้ของอิสราเอล ที่อยู่ห่างออกไปราว 220 กิโลเมตร
อัล-คัสซามอ้างว่า การโจมตีครั้งนี้เป็นการโจมตีเพื่อตอบโต้ที่อิสราเอลสังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์ในฉนวนกาซาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา นอกจากเมืองทางตอนใต้แล้ว กรุงเทล อาวีฟ เมืองหลวงของอิสราเอลเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกโจมตี
เมื่อวานนี้ กลุ่มฮามาสได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอาคารที่พักอาศัยของประชาชนเขตริชอน เลทซิออน ทางตอนใต้ของกรุงเทล อาวีฟ ผลจากการโจมตีทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นได้รับบาดเจ็บ 2 คน แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
ราคาทองวันนี้ เปิดตลาดปรับขึ้นพรวดเดียว 350 บาท
เปิดความหมาย! เสียงหลอนสุดสยอง… “ธี่หยด” แปลว่าอะไร?
วันหยุดพฤศจิกายน 2566 เช็กปฏิทินวันหยุดราชการ-วันสำคัญ